การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะเป็นปัญหาการ

Need help with assignments?

Our qualified writers can create original, plagiarism-free papers in any format you choose (APA, MLA, Harvard, Chicago, etc.)

Order from us for quality, customized work in due time of your choice.

Click Here To Order Now

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะเป็นปัญหาการ

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะเป็นปัญหาการติดเชื้อสำคัญที่พบในโรงพยาบาล ซึ่งมีผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของผู้ป่วยและทางด้านเศรษฐกิจ จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่ามีผู้ป่วยที่ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่เกี่ยวข้องกับการคาสายสวนปัสสาวะมากถึง 93,300 รายต่อปี (Dudeck, 2013)  จากรายงานของสมาคมควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลนานาชาติ (INICC) พบว่า มีอัตราการติดเชื้อต่อจำนวนวันนอน 13.0-20.3 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน และการเสียชีวิตที่สูงถึง 99,000 รายต่อปี (Ruijie Yin et al.,2023)  ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลโรคติดเชื้อ สถาบันบำราศนราดูร พบว่า ประเทศไทย มีอัตราการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะต่อจำนวนวันนอน ในปี พ.ศ. 2565, 2566 และ 2567 เท่ากับ 1.39 : 1,000 , 1.43 : 1,000 และ 1.36 : 1,000 ตามลำดับ  ซึ่งมากเป็นลำดับที่ 2 รองจากอัตราการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (กรมควบคุมโรค, 2567)   ข้อมูลรายงานสถานการณ์การติดเชื้อของหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ประจำปีงบประมาณ 2567  พบว่า อุบัติการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ ยังเกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่กำหนดเป้าหมายไว้ว่าต้องมีอุบัติการณ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2:1,000 วันนอน  โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 พบจำนวนการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะจำนวน 2 ครั้ง คิดเป็น อัตราอุบัติการณ์ 9: 1,000 วันนอน  เดือนมกราคม พ.ศ.2567  เกิดจำนวน 2 ครั้ง คิดเป็น อัตราอุบัติการณ์ 9.13: 1,000 วันนอน และในเดือนมีนาคม พ.ศ.2567  เกิดจำนวน  1 ครั้ง คิดเป็น อัตราอุบัติการณ์ 4.27: 1,000 วันนอน
การคาสายสวนปัสสาวะเป็นหนึ่งในกระบวนการทางการแพทย์ที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ทางเดินปัสสาวะอุดตัน  ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยที่ความบกพร่องในการเคลื่อนไหวร่างกาย  หรือในกรณีที่แพทย์ต้องการบันทึกปริมาณปัสสาวะอย่างเข้มงวด เป็นต้น อย่างไรก็ตามการคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะตามมา โดยพบว่าการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่เกี่ยวข้องกับการคาสายสวนปัสสาวะ เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในโรงพยาบาลมากถึงร้อยละ 40 (Saint, 2000) ซึ่งการติดเชื้อเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย แต่ยังส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากการรักษาการติดเชื้อต้องใช้ยาปฏิชีวนะและการดูแลที่เพิ่มมากขึ้น (Flores-Mireles et al., 2015)  นอกจากนั้นยังอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) และภาวะไตวาย (renal failure) เป็นต้น ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานานขึ้น และมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น (Tambyah & Maki, 2000)
           จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ ประกอบด้วย 1)ปัจจัยจากตัวผู้ป่วย ได้แก่  ภาวะสุขภาพของผู้ป่วย เช่น โรคเรื้อรัง เบาหวานหรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น (Meddings & Saint, 2015)  ระบบภูมิคุ้มกัน โดยผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสติดเชื้อสูงกว่า (Tambyah & Maki, 2015)และการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล (Kogan & O’Conner, 2013) 2) ปัจจัยจากจุลชีพ ได้แก่ ชนิดของเชื้อโรค  พบว่า แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่น Escherichia coli Enterococcus (Warren, 2015)  เชื้อประจำถิ่นบริเวณลำไส้และอวัยวะสืบพันธุ์ (Henry, 2018) เป็นต้น การดื้อต่อยาปฏิชีวนะทำให้การรักษายากขึ้น (Lo & Nicolle, 2014)  แหล่งที่มาของการติดเชื้อ  การแพร่กระจายของเชื้อโรคจากแหล่งต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อมในโรงพยาบาล (Saint & Olmsted, 2016) เป็นต้น 3)ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความสะอาดของสภาพแวดล้อม  การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในบริเวณที่มีการคาสายสวนปัสสาวะ (Weber & Williams, 2015)  การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล มาตรการป้องกันการติดเชื้อ เช่น การใช้อุปกรณ์ป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ (Gould & Umscheid, 2014)    ทักษะของผู้ดูแล การทำความสะอาดและการดูแลระหว่างคาสายสวนปัสสาวะ ทักษะของบุคลากรทางการแพทย์ในการประเมินความจำเป็นก่อนใส่สายสวนปัสสาวะ ทักษะในใส่สายสวนปัสสาวะโดยหลักปราศจากเชื้อ การดูแลระหว่างคาสายสวนปัสสาวะและการดูแลหลังจากถอดสายสวนปัสสาวะ (Thomas, 2019)  เป็นต้น จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้กล่าวข้างต้นนี้ มีทั้งปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ และไม่สามารถควบคุมได้  
          ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการติดเชื้อ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ Hooton และคณะ (Hooton et al., 2010) พบว่า การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะมีส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ  สอดคล้องกับการศึกษาของ Klevens R.M. ที่พบว่า การมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสายสวนปัสสาวะและการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้อย่างมีนัยสำคัญ (Klevens et al., 2007) และการศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในการป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะของ Fakih และคณะ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคาสายสวนปัสสาวะ แต่ยังพร่องความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ (Fakih, M. G., et al. (2012) และการศึกษาของ Saint and Olmsted พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะของผู้ป่วย คือ ระดับการศึกษา (Saint & Olmsted ,2016) เช่นเดียวกับการศึกษาของ Coffman , M.J. และคณะ ที่พบว่า ผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาสูงมักมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองมากกว่าผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาที่ต่ำกว่า (Coffman, M.J., et al., 2014)  นอกจากระดับการศึกษาแล้ว อายุ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้และการจดจำข้อมูลหรือคำแนะนำในการปฏิบัติตน สอดคล้องกับการศึกษาของ McNeill, L. H.และคณะ ที่พบว่า อายุเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้และการจดจำข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ โดยผู้ป่วยที่มีอายุมากมักมีปัญหาในการจดจำและปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์ (McNeill, L. H., et al., 2009)
นอกจากนี้การมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่เหมาะสม เช่น การรักษาความสะอาดบริเวณที่ยึดตรึงสายสวน การเปลี่ยนสายสวนตามเวลาที่กำหนด และการสังเกตอาการของการติดเชื้อ เป็นต้น สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ (Gould et al., 2010)   สอดคล้องกับการศึกษาของ Tambyah และ Maki (2000) พบว่าการที่ผู้ป่วยมีความรู้และมีพฤติกรรมในการดูแลสายสวนปัสสาวะอย่างเคร่งครัด ช่วยโอกาสในการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้อย่างมีนัยสำคัญ  นอกจากนี้การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะของ Rosenstock, I.M. พบว่า ทัศนคติและความเชื่อของผู้ป่วย ในการให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสายสวนปัสสาวะและการป้องกันการติดเชื้อ  ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ป่วย (Rosenstock, I.M. , 1974) และจากการศึกษาของ Vistwanath, K. และคณะ พบว่า การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพและการสื่อสารที่ดีของบุคลลากรทางการแพทย์มีผลต่อความรู้และพฤติกรรมของผู้ป่วยในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อ(Viswanth,K., et al.,2007)
           ความรู้ของผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ ประกอบด้วย 1) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาด  ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษาความสะอาดของบริเวณที่คาสายสวนปัสสาวะ (Gould, C. V., et al., 2010) , ความรู้เกี่ยวกับการล้างมือก่อนและหลังการสัมผัสสายสวนปัสสาวะ   (Lo, E., et al., 2014) 2) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสายสวนปัสสาวะ ได้แก่  การเปลี่ยนสายสวนตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์และการตรวจสอบตำแหน่งของสายสวนปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ (Tambyah, P. A., & Maki, D. G., 2000) 3)  ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ 4) ความรู้ด้านโภชนาการในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ  สำหรับพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ ประกอบด้วย 1) พฤติกรรมการรักษาความสะอาดและสุขอนามัย ได้แก่ การรักษาความสะอาดของบริเวณที่คาสายสวนปัสสาวะ การดูแลความสะอาดหลังการขับถ่าย การปฏิบัติตามขั้นตอนการล้างมืออย่างเคร่งครัด (Gould, C. V., et al., 2010)   และการล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ก่อนและหลังการสัมผัสสายสวนปัสสาวะ (Lo, E., et al., 2014) 2) พฤติกรรมการดูแลสายสวนปัสสาวะ ได้แก่ การตรวจสอบและดูแลสายสวนอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดึงหรือเคลื่อนสายสวนโดยไม่จำเป็น (Saint, S., et al., 2008)  และการดูแลระบบการระบายปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะลงสู่ถุงรองรับปัสสาวะอยู่ในระบบปิด
          ดังนั้น เพื่อช่วยลดอุบัติการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการให้ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย ช่วยลดอุบัติการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ และเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลของหอผู้ป่วยได้ในโอกาสต่อไป

Need help with assignments?

Our qualified writers can create original, plagiarism-free papers in any format you choose (APA, MLA, Harvard, Chicago, etc.)

Order from us for quality, customized work in due time of your choice.

Click Here To Order Now